หลายคนมักเคยได้ยินเกี่ยวปัญหาทางสายตาต่างๆเช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง และสายตายาวตามอายุ แต่ยังมีปัญหาทางสายตาอีกชนิดที่ไม่ควรมองข้าม นั่นก็คือ “การที่มีปัญหาสายตาสั้นข้างเดียว” วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับสายตาสั้นข้างเดียวกันค่ะ ว่าคืออะไร สาเหตุและวิธีการแก้ไข รวมถึงกรณีศึกษาจากผู้เข้ารับบริการ สามารถตามอ่านได้ใต้ภาพเลยค่ะ
พรนภัส สายวงค์สายตาสั้นข้างเดียว (Monocular Myopia หรือ Unilateral Myopia) เป็นปัญหาหนึ่งของภาวะค่าสายตาสองข้างไม่เท่ากัน (Anisometropia) โดยที่มีตาข้างหนึ่งปกติ ส่วนอีกข้างหนึ่งสายตาสั้นทำให้มองเห็นภาพเบลอ แก้ไขยากหรือง่ายขึ้นอยู่กับความต่างของสายตาสองข้าง
สายตาสั้นข้างเดียว เกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น พันธุกรรม, ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง, ความผิดปกติของเส้นประสาทตา เช่น จอประสาทตาเล็กผิดปกติ (Optic nerve hypoplasia), ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต และสภาพแวดล้อม
การแก้ไขด้วยแว่นสายตา จะทำได้ดีในเคสที่ค่าสายตาทั้งสองข้างต่างกันไม่เกิน 200 (ต่างกันไม่เกิน 2 ไดออปเตอร์) เพราะหากค่าสายตาต่างกันมากๆ จะทำให้ขนาดของภาพต่างกันเกินไป (Aniseikonia) ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว ปวดตา เห็นภาพซ้อน เป็นต้น
หลังจากที่เรารู้จักกับสายตาสั้นข้างเดียวไปแล้ว เราจะมาเล่าเคสสายตาสั้นข้างเดียวที่เราพบที่ร้านกันค่ะ ซึ่งเคสนี้เป็นลูกค้าอายุ 20 ปี ไม่เคยใส่แว่นสายตามาก่อน มาด้วยอาการปวดหัว และปวดตาฝั่งซ้าย เป็นมานานแล้ว ไม่มีปัญหาในการมองเห็น ปกติใช้งานที่ใกล้เป็นมือถือและคอมพิวเตอร์ประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน
คือ คนทั่วไปสามารถอ่านได้ที่ระยะ 80 ฟุต แต่ตาซ้ายของลูกค้าจะต้องเดินเข้าไปใกล้ถึงระยะ 20 ฟุตจึงจะอ่านได้ ซึ่งแย่กว่าคนทั่วไปการมองเห็นดีขึ้นเมื่อมองผ่าน PH (pinhole) แสดงว่าสามารถแก้ไขด้วยเลนส์สายตาได้
หลังจากตรวจสายตาอย่างละเอียดแล้ว ขั้นตอนถัดไปทดลองสวมแว่นค่าสายตาให้ลูกค้าใส่เดิน ลูกค้าบอกว่า คมชัดดี แต่ภาพรู้สึกเวียนหัว จึงพิจารณาเปลี่ยนค่าสายตาเป็น
ตาขวา: +0.00แม้ไม่มีปัญหาการใช้ชีวิตประจำวันเนื่องจากตาหลักเป็นตาข้างขวาที่มีค่าสายตาปกติจึงไม่ส่งผลต่อการมองเห็น แต่มีอาการปวดหัวฝั่งซ้ายข้างที่มีปัญหาสายตา หลังจากตรวจวัดสายตาและแก้ไข ตาสองข้างเห็นภาพชัดใกล้เคียงกันและสบายตาขึ้น ลดอาการปวดหัว-ปวดตาฝั่งซ้ายลง
เคสนี้แนะนำให้ใส่แว่นตลอดเวลา เพื่อเป็นการกระตุ้นตาข้างที่มองไม่ชัด ให้มองเห็นเป็นปกติ ส่งผลดีกว่าในระยะยาวค่ะ
ในกรณีแก้ไขสายตาสั้นข้างเดียวด้วยแว่น ต้อง Balance ขนาดของภาพทั้งสองตาอย่างระมัดระวัง เนื่องจากตาทั้งสองข้างจะเห็นขนาดภาพไม่เท่ากัน อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น มองเห็นภาพซ้อน (Diplopia), มีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน, ปวดตา ตาไวต่อแสง
ในกรณีที่มีความต่างของสายตามากๆ การใช้คอนเเทคเลนส์อาจให้ผลที่ดีกว่า เนื่องจากขนาดของภาพจะไม่ต่างกันมาก (ขออธิบายในบทความต่อๆไป) สำหรับคอนแทคเลนส์ที่แนะนำจะมีคอนเทคเลนส์ชนิดกึ่งแข็งกึ่งนิ่ม (Rigid Gas Permeable Contact lens) และคอนเทคเลนส์กดกระจกตา (Orthokeratology)
การปล่อยให้สายสองข้างตาต่างกันมากๆเป็นเวลานาน โดยไม่แก้ไขให้ถูกต้อง อาจนำไปสู่ภาวะตาเหล่ ตาเข (Strabismus) และภาวะตาขี้เกียจ (Amblyopia)
การผ่าตัดแก้ไขปัญหาสายตาสั้นข้างเดียวสามารถทำได้ เช่น การทำเลสิค หรือการทำ PRK ซึ่งจะให้ผลใกล้เคียงกับการแก้ไขด้วยคอนแทคเลนส์
พรนภัส สายวงค์